ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำ

วันที่ 28 มีนาคม 2565 เวลา 09.30 น. นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้เกียรติกล่าวมอบนโยบายการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำ ภายใต้การอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำ พร้อมด้วยนางอุบล มากอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร นางสาวมยุรี บุญญาเสนีย์กุล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนายุวเกษตรกร และเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนายุวเกษตรกร ซึ่งดำเนินการจัดอบรมในระหว่างวันที่ 28 - 30 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุม 4/2 ชั้น 4 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตรและผ่านระบบประชุมออนไลน์ Zoom Meeting







กรมส่งเสริมการเกษตรเตรียมความพร้อมเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำ โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนให้ Young Smart Farmer มีแผนธุรกิจเกษตรที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจเกษตรให้มีประสิทธิภาพ โดยผ่านการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ สามารถพัฒนาธุรกิจด้านการเกษตรให้ดำเนินการได้จริง หรือสามารถขยายสู่ต่างประเทศได้
2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ในการเป็นต้นแบบผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ครบวงจร ทั้งการผลิต การแปรรูป การตลาด ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และยกระดับเป็นผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำที่มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการกิจการ การผลิต
3. การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และการตลาดสินค้าเกษตรเพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย Young Smart Farmer ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ และผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำ
บุคคลเป้าหมายที่เข้าร่วมการอบรม รวมทั้งสิ้น จำนวน 260 ราย ประกอบด้วย
- Young Smart Farmer ที่เป็นศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่หรือเครือข่ายศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ 77 จังหวัด ๆ ละ 2 ราย รวม 154 ราย
- เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน Young Smart Farmer ระดับจังหวัด รวม 77 ราย
- เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน Young Smart Farmer ระดับเขต รวม 6 ราย
- วิทยากร จำนวน 14 ราย
- เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง และผู้จัด จำนวน 9 ราย




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พิจารณาคัดเลือก “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ. 2565”

                      วันที่ 28 กันยายน 2565 เวลาประมาณ 09.00 น. นางอุบล มากอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร  ในฐานะคณะกรรมฝ่ายกรมส่งเสริมการเกษตรได้มอบหมายให้นายติณณปรัชย์ วงศ์จิตธรรม ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาเกษตรกรและอาสาสมัครเกษตร กองพัฒนาเกษตรกร เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินเกษตรกรโครงการ "เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2565" ภายใต้หัวข้อ "เกษตรนวัตกรรม เพื่อความสุขยั่งยืน" (รอบ 30 ราย) ณ อาคารเบญจจินดา มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด แขวงลาดยาว เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร   โดยมีคณะกรรมการร่วมตัดสินเกษตรกรประกอบด้วย 1) คุณณัฐวุฒิ   ปิ่นทองคำ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท รักบ้านเกิด จำกัด 2) คุณบุญระวี ไชยเดช ที่ปรึกษา บริษัท รักบ้านเกิด จำกัด 3) คุณศิริพร   วิโรจนาภา กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด 4) คุณนริภรณ์   เลิศวัฒนาเสรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 5) คุณมณฑา   ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ 6) ผศ.ดร.ปาริสุทธิ์   เฉลิมชัย

ประชุมคณะกรรมการสมาคมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ครั้งที่ 3/2565

     วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 256 5 เวลา 13 . 3 0 น. นายชาตรี บุญนาค นายกสมาคมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสมาคมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ครั้งที่ 3 /256 5   ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ( Line Meeting) โดยการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของสมาคมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และพิจารณาเตรียมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 การดำเนินงานร้านค้าสมาคมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้านอเมซอน ( Café Amazon) และการดำเนินงานร้านค้ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อ.ต.ก. ผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย คณะกรรมการสมาคมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน

การอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารระดับชุมชน

            วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิด การอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารระดับชุมชน ณ ห้องประชุม 4/2 อาคาร 1 ชั้น 4 กรมส่งเสริมการเกษตร และผ่านระบบการประชุมทางออนไลน์ (Zoom meeting) โดยมี นางอุบล มากอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร เป็นผู้กล่าวรายงาน ซึ่งการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารระดับชุมชนให้กับเจ้าหน้าที่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานส่งเสริมความมั่นคงทางด้านอาหารระดับชุมชน และการวางแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารในระดับพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มยิ่งขึ้นต่อไป โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและงานส่งเสริมเคหกิจเกษตรระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับเขต ส่วนกลาง วิทยากร และผู้เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 180 คน